Slideshow

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติ อำเภอปลาปาก

         สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยทีเดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย “อยู่ในแขวงคำม่วน”
พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิศรธรรมิการาม
คำว่า เว้า นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มี ประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลาตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า (ปลาพูด) คำว่า ปาก นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยา หมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูด หรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา
          ปลาปาก เดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮี และตำบลกุตาไก้ได้แต่งตั้งร้อยโทวิชัย บุญรัตนผลิน รักษาราชการในฐานะปลัดอำเภอหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปลาปาก ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอปลาปาก ประกอบด้วย 8 ตำบล ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮีตำบลกุตาไก้ ตำบลนามะเขือ ตำบลโคกสูง ตำบลมหาชัย ตำบลโคกสว่าง และตำบลหนองเทาใหญ่ (ตำบลหนองเทาใหญ่ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเมื่อปี 2521)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น