Slideshow

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

วิสัยทัศน์อำเภอธาตุพนม

“ธาตุพนมเมืองน่าอยู่ บนวิถีชีวิตแบบพอเพียง”




สภาพทั่วไป
๑. ลักษณะที่ตั้ง
             อำเภอธาตุพนม ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ด้านทิศใต้ของจังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ประมาณ ๒๙๒.๐๘๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๘๒,๕๕๓ ไร่ เป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีลักษณะเป็นแนวยาวเลียบไปตามแม่น้ำโขง ยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครพนม ประมาณ ๕๒ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๐๗ กิโลเมตร
๒. การปกครอง
            อำเภอธาตุพนม แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ ตำบล ๑๓๖ หมู่บ้าน ๕ เทศบาล คือเทศบาลตำบล ธาตุพนม องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง มีประชากรทั้งสิ้น ๘๒,๙๙๐ คน เป็นชาย ๔๑,๓๕๗ คน หญิง ๔๑,๗๓๓ คน จำนวนครัวเรือน ๒๑,๗๓๒ ครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาของอำเภอธาตุพนม

           บริเวณอำเภอธาตุพนมในปัจจุบันเดิมมีชื่อว่า“ภูกำพร้า”เป็นที่อยู่อาศัยของชนเผาหนึ่งซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ตามประวัติองค์พระธาตุพนมเคยเป็นที่ตั้งเมืองศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีโคตรบูร ชุมชนรอบองค์พระธาตุพนม ก็ยังเป็นชุมชนใหญ่ดูแลรักษาองค์พระธาตุพนมในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ ชุมชนธาตุพนมได้จัดเป็น “บริเวณธาตุพนม” ขึ้นกับมณฑลลาว-พวน มีหน้าที่ดูแลปกครองจากมุกดาหารถึงนครพนม ท่าอุเทน และเมือง ไชยบุรี รวมทั้งเขตเรณูนครด้วย ต่อมา พ.ศ.๒๔๔๐ ได้มีการจัดตั้งจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน “บริเวณธาตุพนม” เดิมขึ้นกับอำเภอเรณู-นคร และในปลายปี พ.ศ.๒๔๔๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จมาพักค้างคืนที่บริเวณข้างพระธาตุพนม ๑ คืน และเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร จึงได้ประกาศตั้งอำเภอธาตุพนมขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีท้องถิ่น

            ชาวเรณูนครส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท มีต้นกำเนิดดั้งเดิมในเมืองแถประเทศเวียดนาม ได้อพยพมาอยู่ในเขตอำเภอเรณูนครมาหลายชั่วอายุคน พวกเขามีขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนใหญ่ตามแบบฉบับของชาวภูไท ได้แก่
  • ภาษาภูไท มีลักษณะที่แตกต่างจากภาษาอีสานทั่วไป ใช้สื่อสารกันในหมู่ชาวภูไททั้งในอำเภอนี้และกับชาวผู้ไทยในถิ่นอื่น ๆ
  • ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนรำที่งดงาม ประกอบด้วยดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท มักแสดงในเทศกาลสำคัญของท้องถิ่น หรือเมื่อต้อนรับแขกสำคัญ
  • ขี่ช้างชมเมือง เป็นประเพณีที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำเหล้าสาโทใส่ไห(ชาวผู้ไทเรียกไหเว่า "อุ") 2 ใบ มีหลอดดูดซึ่งทำมาจากไม้ซาง แล้วให้แขกที่ดูดเหล้ากับตัวแทนชาวผู้ไท ระหว่างนั้น จะบรรเลงเพลงพื้นบ้านไปเรื่อยๆ จนกว่าแขกดื่มเสร็จ แล้วเพลงก็จะหยุดบรรเลง
  • การแต่งกายในโอกาสพิเศษ ชาวภูไทในเรณูนครจะพากันแต่งกายตามแบบดั้งเดิม คือใช้ผ้าฝ้ายย้อมครามทั้งหญิงและชาย แต่ได้ประยุกต์จนเป็นแบบฉบับของตนเอง โดยมีความแตกต่างจากชาวภูไทในท้องถิ่นใกล้เคียง

ที่ตั้งและอาณาเขต

             อำเภอเรณูนครอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนครพนมลง ไปทางใต้ 51 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (หนองคาย-ต่อเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี) สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

อำเภอเรณูนคร

เรณูนคร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนม มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม มีประเพณีท้องถิ่นที่งดงาม และยังมีชื่อเสียงว่าเป็นถิ่นสาวงามอีกด้วย เรณูนครนับเป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม และมักจะเป็นอำเภอต้น ๆ ที่ได้รับการแนะนำในฐานะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอยู่เสมอ

พิพิธภัณฑ์วัดคณิศรธรรมมิการาม

      ตั้งอยู่ที่วัดคณิศรธรรมมิการาม บ้านปลาปาก หมู่ที่ 2 อยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวอำเภอ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดนครพนม ประจำปี 2547 โดยมีท่านพระครูสุนันท์ธรรมสถิต เป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้ดำริจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมวัตถุโบราณที่จัดไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในอุโบสถหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้รื้อและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งอยู่ในอาคารเดียวกับศูนย์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยมีกลุ่มแม่บ้านทอผ้ามุกทำการในอาคารแห่งนี้เป็นประจำ และเปิดให้ชมทุกวัน  สิ่งที่นำเสนอในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีทั้งพระพุทธรูป เหรียญพระ เงินโบราณสกุลต่าง ๆ ทั้งเหรียญกษาปณ์ และธนบัตร ไหโบราณ เครื่องใช้ของคนสมัยโบราณ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คือ พระทองสัมฤทธิ์เก่าแก่อยู่ที่นี่ด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว ปลาปาก อำเภอปลาปาก

        1) วัดธาตุมหาชัย ตั้งอยู่ที่บ้านมหาชัย หมู่ที่ ๒ ตำบลมหาชัย เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุมหาชัย ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนมและชาวอำเภอปลาปากให้ความเคารพนับถือ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ โดยมีหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัยเป็นผู้นำในการก่อสร้างองค์พระธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยไม้สะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเคารพกราบไหว้อยู่เสมอ ในเดือนมีนาคมของทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุมหาชัย
2) ศูนย์วัฒนธรรมวัดคณิศรธรรมิการาม
ตั้งอยู่ที่บ้านปลาปากหมู่ที่ 13 ตำบลปลาปาก แต่ก่อนนี้เป็นพระอุโบสถที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ภายในมีพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนหลายองค์ ปัจจุบันนี้พระอุโบสถหลังเก่าได้รื้อเนื่องจากทรุดโทรมมาก แต่พระพุทธรูปก็ยังเก็บไว้ภายในวัด และได้สร้างศูนย์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมขึ้นมาแทนที่บริเวณดังกล่าว คือ หัตถกรรมการทอผ้ามุก โดยมีพิพิธภัณฑ์อยู่ภายในอาคารดังกล่าวด้วยมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของสมาชิกศูนย์ฯ พระครูสุนันท์ธรรมสถิตเจ้าอาวาสวัดคณิศรธรรมิการามและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอปลาปากเป็นผู้ดำริในการจัดตั้งและผู้ดูแล พระ ครูสุนันท์ธรรมสถิตนี้ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด ในสาขาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการสวัสดิการและธุรกิจชุมชน และได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดนครพนม ประจำปี 2547
3) ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทันสมัยในพระบรมราชินูปถัมภ์
ตั้งอยู่ที่บ้านทันสมัย หมู่ที่ 7 ตำบลมหาชัย มีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้า ไหม ผ้าพื้นเมืองต่าง ๆ และยังเป็นที่ตั้งของโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินาถ เพื่อเน้นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หยุดการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
4) สวนรุกขชาติวังปอพาน
ตั้งอยู่ริมถนนสายปลาปาก กุรุคุ ห่างจากตัวอำเภอปลาปากประมาณ 3 กิโลเมตร มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เรือนแพ และซุ้มที่นั่งพักผ่อนคลายเครียด บรรยากาศดีสวยงามและเป็นธรรมชาติ
5) วัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) เป็นสถานที่สำหรับการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งหนึ่งประจำจังหวัดนครพนม เป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น มีศาลาโบสถ์ที่งดงาม
วัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) ตำบลมหาชัย สถานที่ปฏิบัติธรรม

ประวัติ อำเภอปลาปาก

         สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยทีเดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย “อยู่ในแขวงคำม่วน”
พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิศรธรรมิการาม
คำว่า เว้า นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มี ประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลาตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า (ปลาพูด) คำว่า ปาก นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยา หมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูด หรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา
          ปลาปาก เดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮี และตำบลกุตาไก้ได้แต่งตั้งร้อยโทวิชัย บุญรัตนผลิน รักษาราชการในฐานะปลัดอำเภอหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปลาปาก ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอปลาปาก ประกอบด้วย 8 ตำบล ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮีตำบลกุตาไก้ ตำบลนามะเขือ ตำบลโคกสูง ตำบลมหาชัย ตำบลโคกสว่าง และตำบลหนองเทาใหญ่ (ตำบลหนองเทาใหญ่ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเมื่อปี 2521)

การศึกษา สาธารณสุข และการสาธารณูปโภค


     ในปีการศึกษา 2548 จังหวัดนครพนม มีโรงเรียน 539 แห่ง ครู 6,315 คน และนักเรียน 128,457 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียนประมาณ 23 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อครูประมาณ 20 คน
ด้านสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2549 มีโรงพยาบาลรัฐบาล 12 แห่ง สถานีอนามัย 151 แห่ง คลีนิค 99 แห่ง แพทย์ 48 คน ทันตแพทย์ 21 คน เภสัชกร 46 คน และพยาบาล 716 คน มีจำนวนผู้ป่วย 381,599 คน แยกเป็นผู้ป่วยใน 64,335 คน และผู้ป่วยนอก 317,264 คน

    ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 157,651 ราย มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น 207.95 ล้านยูนิต
ด้านการประปา มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 14,256,900 ลูกบาศก์เมตร ผลิตน้ำได้ 5,904,640 ลูกบาศก์เมตร และมีผู้ใช้น้ำประปาจำนวน 22,262 ราย
    ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีชุมสายโทรศัพท์จำนวน 20 แห่ง รวม 28,253 เลขหมาย และมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 10 แห่ง มีการขนส่งไปรษณียภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 2,127,410 ชิ้น

สภาพทางเศรษฐกิจ

ในปี 2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดนครพนมในราคาประจำปีเท่ากับ 21,115 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 36,947 บาท สาขาการผลิตที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 31.8 คิดเป็นมูลค่า 6,722 ล้านบาท รองลงมาคือ สาขาการค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 17.8 คิดเป็นมูลค่า 3,750 ล้านบาท อันดับสามได้แก่ สาขาการศึกษา ร้อยละ 13.0 คิดเป็นมูลค่า 2,735 ล้านบาท

ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำ แม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดนครพนม ได้แก่
แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่มีความลึกและยาวมาก เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยถือเอาร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต
ลำน้ำสงคราม ต้นกำเนิดในท้องที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านท้องที่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอศรีสงคราม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน
ลำน้ำยาม ต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนครไหลผ่านท้องที่ อำเภอศรีสงครามมาบรรจบ ลำน้ำสงครามที่บ้านปากยาม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม
ลำน้ำก่ำ ต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดนครพนม ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
ลำน้ำอูน ต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนคร เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอท่าอุเทนกับอำเภอศรีสงคราม
เทือกเขา เทือกเขาที่สำคัญของจังหวัดนครพนม คือ เทือกเขาภูลังกา ซึ่งทอดผ่านเขตอำเภอบ้านแพง และเลยเข้าไปในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย











การปกครองและประชากร

             ในปี 2550 จังหวัดนครพนมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,123 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอบ้านแพง อำเภอปลาปาก อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาทม และอำเภอวังยาง
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 93 แห่ง จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปี 2549 จังหวัดนครพนมมีจำนวนประชากร ทั้งสิ้น 695,351 คน เป็นชาย 346,321 คน และหญิง 349,030 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีจำนวนประชากร 88,531 คน คิดเป็นร้อยละ 12.7 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 606,820 คน หรือร้อยละ 87.3 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร 

ระยะทางจากตัวเมืองนครพนมไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอ
จังหวัด
  1. • อำเภอเมือง 0 กิโลเมตร
  2. • ปลาปาก 44 กิโลเมตร
  3. ท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
  4. • บ้านแพง 93 กิโลเมตร
  5. ธาตุพนม 52 กิโลเมตร
  6. เรณูนคร 51 กิโลเมตร
  7. นาหว้า 93 กิโลเมตร
  8. • ศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
  9. นาแก 78 กิโลเมตร
  10. โพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
  11. • นาทม 130 กิโลเมตร
  12. • วังยาง 80 กิโลเมตร
• สกลนคร 93 กิโลเมตร
• มุกดาหาร 104 กิโลเมตร
• อุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
• ขอนแก่น 298 กิโลเมตร
• หนองคาย 303 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

           โดยทั่วไป จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ รวมทั้งอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งในปี 2549 มีฝนตกประมาณ 139 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,189.5 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.5 องศาเซลเซียส

ขนาดและที่ตั้ง

              จังหวัดนครพนมมีเนื้อที่ประมาณ 5,512.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,445,414.32 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 140 เมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) ของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแนวยาวตามฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 153 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16-18 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 104-105 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

• ทิศเหนือ ติดอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
• ทิศตะวันออก ติดแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นพรมแดน
• ทิศใต ติดอำเภอดงหลวง และอำเภอหว้าใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
• ทิศตะวันตก ติดอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ประวัติจังหวัดนครพนม

         จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้ง ที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่ น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับ ซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง