Slideshow

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

วิสัยทัศน์อำเภอธาตุพนม

“ธาตุพนมเมืองน่าอยู่ บนวิถีชีวิตแบบพอเพียง”




สภาพทั่วไป
๑. ลักษณะที่ตั้ง
             อำเภอธาตุพนม ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ด้านทิศใต้ของจังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ประมาณ ๒๙๒.๐๘๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๘๒,๕๕๓ ไร่ เป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีลักษณะเป็นแนวยาวเลียบไปตามแม่น้ำโขง ยาวประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครพนม ประมาณ ๕๒ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๐๗ กิโลเมตร
๒. การปกครอง
            อำเภอธาตุพนม แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ ตำบล ๑๓๖ หมู่บ้าน ๕ เทศบาล คือเทศบาลตำบล ธาตุพนม องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง มีประชากรทั้งสิ้น ๘๒,๙๙๐ คน เป็นชาย ๔๑,๓๕๗ คน หญิง ๔๑,๗๓๓ คน จำนวนครัวเรือน ๒๑,๗๓๒ ครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาของอำเภอธาตุพนม

           บริเวณอำเภอธาตุพนมในปัจจุบันเดิมมีชื่อว่า“ภูกำพร้า”เป็นที่อยู่อาศัยของชนเผาหนึ่งซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ตามประวัติองค์พระธาตุพนมเคยเป็นที่ตั้งเมืองศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีโคตรบูร ชุมชนรอบองค์พระธาตุพนม ก็ยังเป็นชุมชนใหญ่ดูแลรักษาองค์พระธาตุพนมในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ ชุมชนธาตุพนมได้จัดเป็น “บริเวณธาตุพนม” ขึ้นกับมณฑลลาว-พวน มีหน้าที่ดูแลปกครองจากมุกดาหารถึงนครพนม ท่าอุเทน และเมือง ไชยบุรี รวมทั้งเขตเรณูนครด้วย ต่อมา พ.ศ.๒๔๔๐ ได้มีการจัดตั้งจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน “บริเวณธาตุพนม” เดิมขึ้นกับอำเภอเรณู-นคร และในปลายปี พ.ศ.๒๔๔๙ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จมาพักค้างคืนที่บริเวณข้างพระธาตุพนม ๑ คืน และเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร จึงได้ประกาศตั้งอำเภอธาตุพนมขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นต้นมา

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีท้องถิ่น

            ชาวเรณูนครส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท มีต้นกำเนิดดั้งเดิมในเมืองแถประเทศเวียดนาม ได้อพยพมาอยู่ในเขตอำเภอเรณูนครมาหลายชั่วอายุคน พวกเขามีขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนใหญ่ตามแบบฉบับของชาวภูไท ได้แก่
  • ภาษาภูไท มีลักษณะที่แตกต่างจากภาษาอีสานทั่วไป ใช้สื่อสารกันในหมู่ชาวภูไททั้งในอำเภอนี้และกับชาวผู้ไทยในถิ่นอื่น ๆ
  • ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนรำที่งดงาม ประกอบด้วยดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท มักแสดงในเทศกาลสำคัญของท้องถิ่น หรือเมื่อต้อนรับแขกสำคัญ
  • ขี่ช้างชมเมือง เป็นประเพณีที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำเหล้าสาโทใส่ไห(ชาวผู้ไทเรียกไหเว่า "อุ") 2 ใบ มีหลอดดูดซึ่งทำมาจากไม้ซาง แล้วให้แขกที่ดูดเหล้ากับตัวแทนชาวผู้ไท ระหว่างนั้น จะบรรเลงเพลงพื้นบ้านไปเรื่อยๆ จนกว่าแขกดื่มเสร็จ แล้วเพลงก็จะหยุดบรรเลง
  • การแต่งกายในโอกาสพิเศษ ชาวภูไทในเรณูนครจะพากันแต่งกายตามแบบดั้งเดิม คือใช้ผ้าฝ้ายย้อมครามทั้งหญิงและชาย แต่ได้ประยุกต์จนเป็นแบบฉบับของตนเอง โดยมีความแตกต่างจากชาวภูไทในท้องถิ่นใกล้เคียง

ที่ตั้งและอาณาเขต

             อำเภอเรณูนครอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนครพนมลง ไปทางใต้ 51 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (หนองคาย-ต่อเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี) สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

อำเภอเรณูนคร

เรณูนคร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนม มีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม มีประเพณีท้องถิ่นที่งดงาม และยังมีชื่อเสียงว่าเป็นถิ่นสาวงามอีกด้วย เรณูนครนับเป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม และมักจะเป็นอำเภอต้น ๆ ที่ได้รับการแนะนำในฐานะแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอยู่เสมอ

พิพิธภัณฑ์วัดคณิศรธรรมมิการาม

      ตั้งอยู่ที่วัดคณิศรธรรมมิการาม บ้านปลาปาก หมู่ที่ 2 อยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวอำเภอ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดนครพนม ประจำปี 2547 โดยมีท่านพระครูสุนันท์ธรรมสถิต เป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้ดำริจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ แต่เดิมวัตถุโบราณที่จัดไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในอุโบสถหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้รื้อและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งอยู่ในอาคารเดียวกับศูนย์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยมีกลุ่มแม่บ้านทอผ้ามุกทำการในอาคารแห่งนี้เป็นประจำ และเปิดให้ชมทุกวัน  สิ่งที่นำเสนอในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีทั้งพระพุทธรูป เหรียญพระ เงินโบราณสกุลต่าง ๆ ทั้งเหรียญกษาปณ์ และธนบัตร ไหโบราณ เครื่องใช้ของคนสมัยโบราณ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คือ พระทองสัมฤทธิ์เก่าแก่อยู่ที่นี่ด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว ปลาปาก อำเภอปลาปาก

        1) วัดธาตุมหาชัย ตั้งอยู่ที่บ้านมหาชัย หมู่ที่ ๒ ตำบลมหาชัย เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุมหาชัย ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนมและชาวอำเภอปลาปากให้ความเคารพนับถือ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์ โดยมีหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัยเป็นผู้นำในการก่อสร้างองค์พระธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยไม้สะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเคารพกราบไหว้อยู่เสมอ ในเดือนมีนาคมของทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุมหาชัย
2) ศูนย์วัฒนธรรมวัดคณิศรธรรมิการาม
ตั้งอยู่ที่บ้านปลาปากหมู่ที่ 13 ตำบลปลาปาก แต่ก่อนนี้เป็นพระอุโบสถที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ภายในมีพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนหลายองค์ ปัจจุบันนี้พระอุโบสถหลังเก่าได้รื้อเนื่องจากทรุดโทรมมาก แต่พระพุทธรูปก็ยังเก็บไว้ภายในวัด และได้สร้างศูนย์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมขึ้นมาแทนที่บริเวณดังกล่าว คือ หัตถกรรมการทอผ้ามุก โดยมีพิพิธภัณฑ์อยู่ภายในอาคารดังกล่าวด้วยมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของสมาชิกศูนย์ฯ พระครูสุนันท์ธรรมสถิตเจ้าอาวาสวัดคณิศรธรรมิการามและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอปลาปากเป็นผู้ดำริในการจัดตั้งและผู้ดูแล พระ ครูสุนันท์ธรรมสถิตนี้ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด ในสาขาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการสวัสดิการและธุรกิจชุมชน และได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดนครพนม ประจำปี 2547
3) ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทันสมัยในพระบรมราชินูปถัมภ์
ตั้งอยู่ที่บ้านทันสมัย หมู่ที่ 7 ตำบลมหาชัย มีการส่งเสริมอาชีพการทอผ้า ไหม ผ้าพื้นเมืองต่าง ๆ และยังเป็นที่ตั้งของโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินาถ เพื่อเน้นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หยุดการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
4) สวนรุกขชาติวังปอพาน
ตั้งอยู่ริมถนนสายปลาปาก กุรุคุ ห่างจากตัวอำเภอปลาปากประมาณ 3 กิโลเมตร มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เรือนแพ และซุ้มที่นั่งพักผ่อนคลายเครียด บรรยากาศดีสวยงามและเป็นธรรมชาติ
5) วัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) เป็นสถานที่สำหรับการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งหนึ่งประจำจังหวัดนครพนม เป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น มีศาลาโบสถ์ที่งดงาม
วัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) ตำบลมหาชัย สถานที่ปฏิบัติธรรม